





ด้วยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของการบริหารการศึกษาที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นหัวใจสาคัญในการนาพาหน่วยงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการสู่ความเป็นเลิศเพื่อความผาสุกของประชาชนทั้งในระดับประเทศ และชุมชนท้องถิ่นซึ่งความสาเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารการศึกษาจึงมุ่งเน้นที่จะพัฒนาบุคลากรที่มีความรอบรู้ทั้งในด้านบริหารการศึกษา การพัฒนาการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและมีความสามารถในการสร้างนักวิชาการทางการศึกษาได้
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นเล็งเห็นว่าผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาทั้งในองค์กรการศึกษาของรัฐและเอกชนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เป็นบุคคลสาคัญที่จาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพสุดในการบริหารการศึกษาและการเป็นผู้นาในการเปลี่ยนแปลงที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการศึกษาในการบริหารการจัดการการศึกษา ตลอดทั้งการพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบ และมีบทบาทสาคัญในการทาให้สิ่งเหล่านี้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นจึงเห็นสมควรเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในปัจจุบันและผู้ซึ่งกาลังรอเป็นผู้บริหารและผู้นาทางการศึกษาอนาคต อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้านหนึ่งโดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ
พัฒนานิสิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการในระดับสูงและเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าทางวิชาการและมีประโยชน์ต่อการนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีภาวะผู้นำ
๑) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการในระดับสูงและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาสามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมและประเทศชาติ และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๒) เพื่อศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ
๓) เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันจะนาไปสู่การสร้างสังคมการเรียนรู้ และการมีคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Education Administration
ชื่อปริญญา สาขาวิชาตามหลักเกณฑ์การกาหนดชื่อปริญญาของกระทรวงศึกษาธิการ
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
ภาษาไทย ชื่อย่อ : ปร.ด. (การบริหารการศึกษา)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Education Administration)
ภาษาอังกฤษ ชื่อย่อ : Ph.D. (Education Administration)
เป็นผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงด้านการบริหารองค์การ เกี่ยวกับนโยบายและแผน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานคลัง การบริหารงานพัฒนาการปกครอง การบริหารงานยุติธรรม
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร แบ่งตามแผนการศึกษา คือ
แผน 1 เน้นการทาวิจัย
แบบ 1.1 ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แผน 2 ศึกษารายวิชาและทาวิจัย
แบบ 2.1 ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
รูปแบบ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558
ประเภทของหลักสูตร เป็นหลักสูตรปริญญาเอกทางวิชาการ
ภาษาที่ใช้ เป็นหลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา รับนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารในการเรียนการสอนได้
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอน
การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา เป็นการให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
สถานภาพของหลักสูตร เป็นหลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ.2555 ซึ่งกำหนดเปิดดำเนินการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560
การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
คณะกรรมการวิชาการได้พิจารณากลั่นกรองหลักสูตรในการประชุมคณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 12 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2560
สภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันที่ 27 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพกละมาตรฐานบัณฑิตวิทยาลัย คาดว่า หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จะได้รับการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 ภายในปี พ.ศ.2561 (หลังเปิดดาเนินการสอนเป็นเวลา 2 ปี)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเป็นผู้บริหารองค์กรเกี่ยวกับนโยบายและแผน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานคลัง การบริหารงานพัฒนาการปกครอง การบริหารงานยุติธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ปรึกษาการบริหารองค์กร ผู้ประกอบกิจการ นักวิชาการ อาจารย์ประจำสถาบัน และนักวิจัยและสามารถเข้าทำงานได้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีบทบาทในการเสนอนโยบาย กำกับ ดูแลและการวางแผน
1.1 ระบบ
ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและข้อบังคับมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นว่าด้วย ระบบการศึกษาสาหรับระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
หลักสูตรอาจจัดการศึกษาในบางรายวิชาในภาคฤดูร้อน หรือลักษณะเป็นชุดวิชา (Module) หรือทีละรายวิชา โดยมีกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่มีสัดส่วนที่เทียบเคียงได้เท่ากับการศึกษาภาคการศึกษาปกติในระบบทวิภาค
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
หลักสูตรอาจจัดการศึกษาในบางรายวิชาในภาคฤดูร้อน โดยมีกาหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่มีสัดส่วนที่เทียบเคียงได้เท่ากับการศึกษาภาคการศึกษาปกติในระบบทวิภาค
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค ไม่มี
1.4 ระยะเวลาในการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปีการศึกษา แต่ไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน - เวลาในการดาเนินการเรียนการสอน
การดาเนินการเรียนการสอน เป็นวันและเวลาทั้งในและนอกวันเวลาทำการปกติ ในวันอังคาร-วันอาทิตย์
2.2 คุณสมบัติกละการคัดเลือกนิสิต
2.2.1 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) ผู้เข้าศึกษาต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(2) ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษของทางมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น หรือผลสอบโทเฟลตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นกาหนด
(3) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์
(4) สาหรับผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
2.2.2 การคัดเลือกนิสิต
การคัดเลือกนิสิตให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น โดยพิจารณาจาก
(1) คุณสมบัติตามหมวดที่ 3 ข้อ 2.2.1
(2) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน หรือ
(3) คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์
(4) พิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ประกอบ อาทิ ประสบการณ์ในการทำงาน ความสามารถที่จะศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้สำเร็จ